วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์

                         
ลำโพง(Speaker)

          ทำหน้าที่ถ่ายทอดและขยายสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนิดเสียงภายในคอมพิวเตอร์เช่น ซาวด์การ์ดและชิปเสียงบนเมนบอร์ดไปยังผู้รับหรือผู้ใช้งาน (ในที่นี้จะขอพูดถึงแต่กับลำโพงแบบมัลติมีเดียที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น) โดยถือเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งสำคัญในระบบเสียง สำหรับชุดลำโพงแบบมัลติมีเดียที่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้



ชุดลำโพงมัลติมีเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป

          รุ่นธรรดาจะเป็นสเตอริโอที่มีแค่ลำโพงซ้าย-ขวาตัวเล็ก 2 ข้าง หรือดีขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นแบบที่มีเครื่องขยายเสียงหรือแอมป์(Amplifier) ในตัว พอเสียบสายต่อเข้ากับการ์ดเสียงก็ใช้ได้เลย (ถ้ามีแอมป์ในตัวอาจต้องเสียบปลั๊กไฟด้วย)



ชุดลำโพงพร้อมซัปวุฟเฟอร์

          เป็นชุดลำโพงแบบ 3 จุด หรือเรียกกันกว่า 2.1 Channel ประกอบด้วยลำโพงแยกเสียงซ้ายขวา 2 จุด และลำโพงเสียงทุ้มหรือซัปวูฟเฟอร์ (Subwoofer) ที่ช่วยเพิ่มเสียงทุ้มให้หนักแแน่นขึ้นอีก 1 จุด บางรุ่นอาจมีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียงทุ้ม-แหลมให้คุณปรับเสียงได้ตามใจชอบมาให้ด้วย


ชุดลำโพงมิลติมีเดียแบบดิจิตอล

          เป็นชุดลำโพงที่รับเอาสัญญาญเสียงแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ และขนายเสียงให้ดังออกลำโพงโดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านการ์ดเสียงเหมือนกับลำโพงมัลติมีเดียแบบอนาล็อกหรือแบบธรรมดาทั่วๆไป

ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Speakers System)

          เป็นชุดลำโพงชุดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยลำโพงตั้งแต่ 5-8 จุด (มีทั้งระบบ 4.1, 5.1, 6.1, และ 7.1Channel ) แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ


1.ประเภทที่ตัวถอดรหัส
           ประกอบด้วยตัวถอดรหัสสัญาณเซอร์ราวดิ์ทั้งระบบ Dolby Digtal และ DTS หรือ Dolby Pro-Logic+แอมป์ขยายเสียง+ชุดลำโพงเซอร์ราวด์ เวลาใชช้งานเพียงต่อช่อง S/PDIF หรือ Digital Out จากการ์ดเสียงที่ให้สัญญาณเซอร์ราวด์ในระบบ 5.1 CH ขึ้นไปเข้าตัวรหัส เพียงดื้านี้ก็จะได้ชุดโฮมเธียเตอร์ขนาดย่อมๆไว้ใช้งานแล้ว

2.ประเภทที่ไม่มีตัวถอดรหัส 
          ประกอบด้วยแอมป์ขยายเสียง + ชุดลำโพงเซอร์ราวด์ เวลาใช้งานเพียงต่อช่อง Lin Out จากการ์ดเสียงที่ให้สัญญาณเซอร์ราวด์ในระบบ 5.1 CH ขึ้นไปเข้าที่ภาคขยายเสียงถายในชุดลำโพง เพียงเท่านี้เท่านี้ก็จะได้ระบบเสียงแบบเซอร์ราวด์รอบทิศทางในราคาย่อมเยา

ที่มา:http://speakerofpc.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น